JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
                     1.การแสดงวงดนตรีอีสาน 

                                             
                                             ดนตรีพื้นบ้านได้สะท้อนถึงขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่ ความอุดมสมบูรณ์ ความแห้งแล้ง โดยภาพสะท้อนเหล่านี้จะดูได้จากสำเนียงเพลง บทเพลง ลักษณะของเครื่องดนตรีได้อย่างชัดเจน ซึ่งดนตรีของแต่ละภาคจะมีลักษณะโดยเฉพาะของตนเอง จะมีสำเนียงเพลง ภาษา เอกลักษณ์ และลักษณะเครื่องดนตรีแตกต่างกันออกไปตามลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
                                             ดนตรีทางภาคอีสาน เนื่องจากทางภาคอีสานมีอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง เมื่อถึงเวลาหน้าฝนชาวอีสานต้องรีบทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จนไม่มีเวลาที่จะสนุกสนาน มากนัก เครื่องดนตรีจึงไม่สวยงาม ประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น การบรรเลงก็รวดเร็วคึกคัก กระชับและสนุกสนาน แสดงถึงความเร่งรีบ

                                             ดนตรีพื้นบ้านอีสาน ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดีด สี ตี เป่า ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
 
                                                         เครื่องดีด ได้แก่ พิณ ไหซอง
 
                                                         เครื่องสี ได้แก่ ซออีสาน
 
                                                         เครื่องตี ได้แก่ โปงลาง กลองหาง
 
                                                         เครื่องเป่า ได้แก่ แคน โหวด

                                                
                                     2.การแสดงรำเจ้าแม่นาคี
 


                                              การแสดงรำเจ้าแม่นาคี เป็นการแสดงที่ทางสถาบันบ้านครูไก่ สอนศิลป์ หยิบยกเรื่องราวจากละครเรื่อง นาคี และจากตำนานความรักระหว่างมนุษย์และพยานาค เรื่องเล่าขานประจำบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นตำนานที่มีชื่อเสียงทางภาคอีสานของไทย เรื่องมีอยู่ว่า

                                             สมัยก่อน บริเวณที่เป็นตัวบึงโขงหลงนั้นไม่ได้เป็นพื้นน้ำ แต่เป็นพื้นดินที่ตั้งเมือง ชื่อว่ารัตพานคร มีผู้ปกครองนคร คือพระอือลือราชา มีมเหสีชื่อนางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อพระนางเขียวคำ (ต่อมาอภิเษกกับพระเจ้าสามพันตา) มีพระโอรสชื่อเจ้าชายฟ้าฮุ่ง ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายฟ้าฮุ่ง เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้และมีรูปเป็นสมบัติ ต่อมาเจ้าชายฟ้าฮุ่งได้อภิเษกสมรสกับ นาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพระยานาคราชแห่งเมืองบาดาล ซึ่งจำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์ การจัดงานอภิเษกสมรสได้จัดทำกันใหญ่โตมโหฬารมากทั้งเมืองรัตพานครและเมืองบาดาล(๗วัน๗คืน) เพื่อให้สมกับการแต่งงานอันยิ่งใหญ่ในครั้งครั้งนี้ และเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างพระยานาคกับพระเจ้าอือลือ พระยานาคราชได้มอบเครื่องราชกุฎภัณฑ์ซึ่งเป็นของมีค่าประจำตระกูลให้กับพระเจ้าอือลือราชาในโอกาสนี้ด้วย พร้อมกับฝากฝังลูกสาวของตน ให้เมืองรัตพานครดูแล โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ว่า นางคือลูกของพญานาคแห่งเมืองบาดาลเจ้าชายฟ้าฮุ่งกับเจ้าหญิงนาครินทรานี อยู่กินร่วมกันมา 3 ปี ก็ไม่สามารถที่จะมีผู้สืบสายโลหิตได้(เพราะธาตุมนุษย์กับนาคเข้ากันไม่ได้) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสองเป็นอันมาก ซึ่งต่อมาทำให้เจ้าหญิงนาครินทรานีล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางกลับกลายร่างเป็นนาคตามเดิม ข่าวนี้แพร่สะพัดไปทั่วกรุงรัตพานคร
 

                                           แม้ต่อมาพระนางจะร่ายมนต์กลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้งก็ตาม เมื่อทุกคนทราบความจริงว่านาครินทรานีเป็นนาค ประชาชนชาวรัตพานครและพระเจ้าอือลือราชาไม่พอใจอย่างมาก จึงได้แจ้งให้พระยานาคราชมารับลูกสาว พร้อมขับไล่นางนาครินทรานี กลับคืนสู่เมืองบาดาล โดยไม่ใยดี แม้กระทั้งการจะไปส่งด้วยน้ำใจก็ไม่มี ไม่เหมือนกับครั้งที่นางมาในพิธีอภิเษกสมรส พระยานาคราชกริ้วโกรธกับการกระทำของเมืองรัตพานครที่ได้กระทำต่อลูกสาวของตน แต่ด้วยความรักที่มีต่อพระธิดาของตน จึงมารับพระธิดากลับโดยดี แต่ก่อนกลับสู่เมืองบาดาล พระพระยานาคราชได้ขอเครื่องราชกุฎภัณฑ์ที่เป็นเครื่องประดับยศ และสมบัติที่มอบให้พระธิดา เมื่อครั้งแต่งงานคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนได้ เนื่องจากได้นำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่นแล้วพระยานาคราชกริ้วโกรธมาก เพราะธิดาของตนถูกขับไสไล่ส่ง ก็เจ็บใจมากพอแล้ว อีกทั้งยังขอรับเครื่องราชกุฎภัณฑ์ของตนกลับเมืองบาดาลไม่ได้ พระยานาคราชแห่งบาดาลจึงได้ประกาศว่าจะกลับมาพร้อมกับไพร่พลแห่งเมืองบาดาล เพื่อถล่มเมืองรัตพานครให้สิ้นสภาพความเป็นเมืองหลังจากพระยานาคราชกลับเมืองบาดาล

                                             ตกในคืนวันเดียวกันนั้นไพร่พลแห่งพระยานาคราช ได้ยกมาถล่มเมืองรัตพานครจนราบคาบเป็นหน้ากลอง ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์ของนาคได้ จนพื้นดินที่เคยเป็นเมืองรัตพานครในอดีต กลายเป็นผืนน้ำอันเวิ้งว้าง รัตพานครล่มถล่มลง ผู้คนแห่งเมืองล้วนล้มตายเพราะความโกรธของพระยานาคราช ที่เกิดจากชาวรัตพานครกระต่อพระธิดาของตน เนื่องจากนางนาครินทรานีไม่ทราบว่าพระบิดาจะมาถล่มเมืองรัตพานคร แต่พอทราบภายหลังก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่ง นางออกตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่งทั่วบึงของหลง ถึงแม่น้ำสงครามแต่ก็ไม่พบ จึงได้กลับเมืองบาดาล เมืองรัตพานครถูกถล่มจนกลายเป็นบึงของหลง และได้กลายมาเป็น “บึงโขงหลง” ในปัจจุบันจากพื้นดินอันเป็นที่ตั้งของรัตพานคร กลายเป็นเวิ้งน้ำ แต่ในช่วงที่ไพร่พลพญานาคเข้าทำลายเมืองนั้นยังมีวัดที่ตั้งอยู่ในรัตพานคร ที่พระยานาคราชและไพร่พลไม่ทำลาย เหลือไว้เป็นที่สักการะของผู้คนที่จะมาพบเห็นในกาลต่อไป ซึ่งในกาลต่อมาวัดเหล่านั้นได้เสื่อมสภาพลง กลายเป็นเกาะและป่าขนาดเล็กที่มิได้จม หรือถูกทำลายให้กลายเป็นพื้นน้ำ วัดเหล่านั้นจึงปรากฏเป็นชื่อดอน หรือเกาะต่างๆ ในบึงโขงหลงในปัจจุบันดังนี้ วัดแก้วฟ้า หรือวัดดอนแก้ว ปรากฏเป็นดอนแก้วในปัจจุบัน วัดโพธิ์สัตว์หรือวัดดอนโพธิ์ มาเป็นดอนโพธิ์ และวัดแดนสวรรค์ กลายเป็นดอนสวรรค์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง และสิ่งหนึ่งที่มีชื่อปรากฏตามตำนานในปัจจุบันคือ เส้นทางที่พระธิดานาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่งในเมืองรัตพานครไม่เจอ จึงออกตามหาต่อจากบึงโขงหลง ต่อไปยังน้ำสงคราม เส้นทางดังกล่าว กลายเป็นน้ำเมาที่เชื่อมต่อบึงโขงหลง และน้ำสงคราม ส่วนคำว่าน้ำเมา หรือห้วยน้ำเมานั้น เป็นเพราะเกิดจากความลุ่มหลงในรักของพระธิดาของพระยานาคที่มีต่อเจ้าชายฟ้าฮุ่ง ซึ่งตกอยู่ในอาการที่เรียกว่ามัวเมาในความรัก จึงเป็นเส้นทางแม่น้ำที่เรียกว่าน้ำเมาหมายเหตุ บึงโขงหลงเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เกิดตามธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 11 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันประชาชนรอบพื้นที่บึงโขงหลงได้ใช้แหล่งน้ำแห่งนี้ ประกอบอาชีพด้านประมง กสิกรรม เกษตรกรรม
 

                                          ซึ่งการแสดงชุดนี้ สถาบันบ้านครูไก่ สอนศิลป์ ได้นำศิลปะนาฏศิลป์ขอม นาฏศิลป์อีสาน และนาฏศิลป์การละคร เข้ามาประประยุกต์ ในการแสดงเดียวกัน รวมถึงการแต่งกายท่าทาง ลีลาในการร่ายรำ เช่นตัวละครเอก ที่แสดงบทบาทเป็นเจ้าแม่นาคี จะแต่งกายแบบนางอัปสรา แสดงถึงนางพญา ความมีอำนาจและยศศักดิ์บารมี การแต่งกายจะใช้สีแดง ประดับด้วยเครื่องประดับสีทอง เพื่อความสง่างามของตัวละคร ส่วนตัวละครนางสนม นางรอง นางข้าใช้ จะใช้สีเขียว ทั้งหมด เพื่อเสริมให้นางพญาดูโดดเด่น อีกนัยหนึ่งคือ สีเขียว มักนิยมเป็นสีแทนประจำองค์พยานาค ส่วนเครื่องประดับจะเป็นชุดเครื่องพยานาคทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อให้นักแสดงดูสมบทบาทมากที่สุด 
                               
                                          เพลงที่ใช้ในการแสดง เป็นเพลงประกอบละคร เรื่องนาคี ซึ่งเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ อ่อนหวาน มีทำนองเพลงที่สื่อถึงอารมณ์ของตัวละคร ในแต่ละช่วงได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ คือทำนองเพลงยังคงความเป็นเอกลักษณ์ แบบฉบับทำนองเพลงภาคอีสาน ซึ่งมีเสียงเครื่องดนตรีแคน พิณอีสาน และเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานอื่นๆเป็นตัวนำทำนอง ซึ่งสามารถผสมผสานร่วมกับดนตรีสากลได้อย่างลงตัว นับเป็นอีกหนึ่งการแสดงที่สร้างความประทับให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก เพราะเหมือนกับตัวละครในทีวี ในนิทานได้มาโลดแล่นอยู่หน้าเวที ให้แขกผู้มาเยือนได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด